ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2558 เผอิญต้องให้มีโอกาสไปชะอำ เพราะเป็นพื้นที่ที่พวกเราไปดำเนินโครงการบริการวิชาการสัญจร กิจกรรมที่ 2 คือ การให้คำปรึกษา และ สาธิตเทคโนโลยี แก่ชุมชนบ้านห้วยทรายเหนือ และ ชุมชนแม่บ้านห้วยทรายใต้ ตามที่ได้สำรวจข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ในกิจกรรมที่ 1 ที่ผ่านมา สมัยยังอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาของ มทร.พระนคร และในตอนเช้าของวันที่ 17 ซึ่งตรงกับเทศกาลวันจ่ายของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้เขียนจึงพบว่า ในตลาดสดหรือตลาดเช้าของชะอำ เป็นแหล่งจับจ่ายซื้อของในเทศกาลตรุษจีนที่คึกคัก ไม่น่าเชื่อ สร้างความตื่นเต้นแก่พวกเรามากๆ…
รับการต้อนรับจากสมาชิกกองนโยบายและแผน
วันนี้ ช่วงบ่าย ได้รับช่อดอกไม้แสดงความยินดีและต้อนรับเข้าสู่ทีมการทำงานของกองนโยบายและแผน มทร.พระนคร ในฐานะผู้ช่วยอธิการบดี ที่ช่วยงานท่านรองอธิการบดีจุฬาภรณ์ ตันติประสงค์ ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายอีกงานหนึ่งในชีวิตการรับราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ร่วมงานกีฬา “พระนครเกมส์”
ผู้ช่วยอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ) และ สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมงานการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 “พระนครเกมส์” โดยดูแลฝ่ายรับลงทะเบียนและปฏิคม เมื่อวันที่ 6 – 8 กุมภาพันธ์ 2558 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ให้สัมภาษณ์ผลงานวิจัยแก่ วช.ในงานวันนักประดิษฐ์ 2558
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้ช่วยอธิการบดี ให้สัมภาษณ์ผลงานวิจัยเรื่อง “ขนมปังจากเนื้อตาลสุก”ที่เป็นผลงานร่วมระหว่างผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ และ ดร.วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์ โดยได้รับการประสานงานจากกองประเมินผลและจัดการความรู้การวิจัย ฝ่ายส่งเสริมและสร้างคุณค่างานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล ณ บูธนิทรรศการฯ ของ มทร.พระนคร เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ และ สื่ออื่นๆของ วช.ต่อไป
คว้ารางวัลแนวปฏิบัติที่ดีที่ภาคบรรยาย “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน”
ผู้ช่วยอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ) เข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษา และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ครั้งที่ 8 “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” (Integration of Knowledge Management for Community and ASEAN Community) โดยร่วมการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” ซึ่งนำเสนอผลงานที่ผ่านเข้ารอบการประกวดภาคโปสเตอร์และภาคบรรยาย จำนวน 2 เรื่องได้แก่ หัวข้อการบูรณาการงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ : “อาหารไทยออนไลน์ : คลิกเดียว…เกี่ยวกับประสบการณ์ทั่วโลก” และหัวข้อการบูรณาการการบริการวิชาการ : “การยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยนวัตกรรมสู่สากล” และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “อาหารไทยออนไลน์ : คลิกเดียว…เกี่ยวกับประสบการณ์ทั่วโลก” เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา